วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คนเรียนเป็น ครู ควรอ่าน ? ต่อ

คุณสมบัติของครูอาจารย์ที่ดี
1. ประพฤติตัวให้เป็นที่รัก (ปิโย)
2. มีใจหนักแน่นทำตนให้น่ายำเกรง (ครุ)
3. อบรมตนเองสม่ำเสมอ (ภาวนีโย)
4. ฉลาดสอน ฉลาดพูด (วตฺตา)
5. อดทนต่อถ้อยคำล่วงเกิน (วจนกฺขโม)
6. พูดเรื่องลึกซึ้งให้เข้าใจลึกซึ้งได้ (คมฺภีรํ กถํ กตฺตา)
7. ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสียหาย (โน จฎฺฐาเน นิโยชเย)
หน้าที่ของครูอาจารย์พึงมีต่อศิษย์
1. แนะนำดี
2. ให้เรียนดี
3. บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง
4. ยกย่องให้ปรากฎในเพื่อนฝูง
5. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
หน้าที่ของศิษย์พึงมีต่อครูอาจารย์
1. ให้การต้อนรับ
2. เสนอตัวรับใช้
3. เชื่อฟัง
4. คอยปรนนิบัติ
5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

คนที่เรียนเป็น “ครู” ควรอ่าน

"ครู - อาจารย์" ที่ดีเป็นอย่างไร?
การเป็นครูที่ดีมีหลักการ ดังนี้
1. ครูต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ขันและยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
2. มีความยุติธรรมและวินัย
3. ต้องเฉลียวฉลาดรู้เรื่องวิชาการเป็นอย่างดี
4. ต้องมีความเมตตากรุณา และอดทน
5. สร้างตัวอย่างที่ดี
ดังคำที่ว่า "ครูคือ แม่พิมพ์ของชาติ" ครูต้องเป็นตัวอย่างที่อยู่ในใจของเด็ก เป็นแบบอย่างที่ดีในทุก ๆ ด้านให้เด็กยึดถือ, ปฏิบัติ
6. เข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของมนุษย์ทุกคนในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล
7. พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์ยากลำบากใจ
8. อย่ายอมแพ้ จงเชื่อมั่นในทุกสิ่ง
9. ให้รางวัลเป็นสิ่งจูงใจ และให้คำชมสม่ำเสมอ “ถูกแล้ว ดีมาก เยี่ยม!......”

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รอยไม้เรียว

ดุจเรือจ้าง...นำทาง...ให้ผองศิษย์
ได้สัมฤทธิ์...สมมาด...ปรารถนา
ด้วยวิชา...ความรู้...ที่เรียนมา
จากครูบา..ผู้ที่...มีพระคุณ

ขอบูชา...คุณท่าน...ไว้ในจิต
ตรองถูกผิด...คิดยั้ง..ดัวยคำหนุน

แนวทางครู...ชี้ให้...ไว้เป็นทุน
ด้วยน้ำใจ...การุณ...ศิษย์ทุกครา

รอยไม้เรียว...น้ำลาย...และไอปาก
ที่ครูฝาก...ให้ไว้...ยังมีค่า
ย้ำเตือนศิษย์...ได้ดี...เสมอมา
น้อมสักกา...คารวะ...พระคุณครู

เปรียบ"แสงเทียน

คำว่า " ครู "เปรียบไว้ได้หลายอย่าง
เปรียบ"เรือจ้าง"รับส่งผู้โดยสาร
ให้พ้นห้วงมหาชลาธาร
ได้ข้ามผ่านถึงฝั่งสมตั้งใจ

เปรียบ"แม่พิมพ์"กล่อมเกลาเฝ้าหล่อหลอม
ทั้งโอบอ้อมการุณย์หนุนนำให้
ปลูกฝังซึ่งคุณธรรมผ่องอำไพ
ให้ก้าวไปตามครรลองของชีวา

เปรียบ"แสงเทียน"ส่องสว่างทางมืดมิด
เพื่อให้ศิษย์แจ่มกระจ่างทางศึกษา
จากไม่รู้ทั้งเขลาเบาปัญญา
กลับเก่งกล้าเลิศล้ำเพราะพร่ำเรียน

คือ"ปูชนียบุคคล"เปี่ยมล้นค่า
ควรบูชาเคารพนบนอบเศียร
ทั้งกายใจจิตวิญญาณท่านเฝ้าเพียร
เพื่อนักเรียนเติบใหญ่นั้นได้ดี

ขอทดแทนบุญคุณที่หนุนเนื่อง
ชาติรุ่งเรืองเพราะคุณครูกู้ศักดิ์ศรี
พร้อมอุทิศใจกายหมายมอบพลี
เป็นคนดีที่น่ายลชนชื่นชม

ร่วมเชิดชูครูไทยด้วยใจมั่น
ที่สร้างสรรค์บ่มเพาะความเหมาะสม
ในวันครูที่สิบหกมกราคม
ขอกราบก้มไหว้ครูดีศรีแผ่นดิน

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณวิชาชีพครู

จรรยาบรรณวิชาชีพครู
การให้ เป็นสิ่งดี ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักและเป็นที่มาของศรัทธา ครูเป็นผู้ให้ความรู้และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ศิษย์ ครูเช่นนี้จึงเป็นที่รักของศิษย์ ครูที่มีจริยวัตรงามย่อมเป็นตัวอย่างที่ดีต่อศิษย์ และเป็นผู้ที่ทำให้วงการวิชาชีพครูมีเกียรติ ควรแก่การยกย่องบูชา จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพครู ซึ่งมีข้อควรปฏิบัติ 9 ข้อดังนี้

จรรยาบรรณข้อที่ 1
ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

จรรยาบรรณข้อที่ 2
ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้ แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

จรรยาบรรณข้อที่ 3
ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้ง ทางกายวาจา ใจ

จรรยาบรรณข้อที่4
ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

จรรยาบรรณข้อที่ 5
ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการ ปฏิบัติหน้าที่
ตามปกติ และไม่ให้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

จรรยาบรรณข้อที่ 6
ครูย่อมพัฒนาตนทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อพัฒนาการทางวิทยาการ
เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณข้อที่ 7
ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครุ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

จรรยาบรรณข้อที่ 8
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

จรรยาบรรณข้อที่ 9
ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ครูผู้เป็นเรือจ้าง

เรือจ้าง

“ครู” ประดุจ “เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ
“ครู” ควรเทียบฟ้ากระจ่างกว้างไพศาล
“ครู” ตักเตือนเมตตา-อภิบาล
“ครู” สอนสั่งวิชาการ...วิชาคน


เป็นผู้แนะนำให้ได้ประจักษ์
ว่าด้วยหลักวิทยา – หาเหตุผล
และเตือนย้ำคุณธรรมประจำตน
นั้นจะดลให้ชิวิต “ศิษย์” ได้ดี

หากแนวทางที่ “ลูกศิษย์” คิดผิดพลาด
“ครู” ไม่อาจภาคภูมิได้ ในศักดิ์ศรี
ประหนึ่งว่าคนพาย “เรือจ้าง” ลำนี้
ทำหน้าที่ขาดตกบกพร่องไป


เรือเทียบฝั่งเข้าส่งตรงริมท่า
“คนโดยสาร” รู้เถิดว่า เหนื่อยแค่ไหน
“คนพายเรือ” ถ่อนำค้ำด้วยใจ
ขอเพียงให้ “ศิษย์” สมหวังดังกมล


“ครู” ประดุจ “เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ
“ครู” ควรเทียบแสงสว่างกลางไพรสณฑ์
เป็นแสงทองส่องชี้ชีวิตคน
พระคุณล้นเกินรำพรรณจำนรรจา


แม้ไม่มีข้าวตอก- ดอกไม้หอม
ประดับพร้อมเป็นพุ่มพานอันหรูหรา
แต่ขอนำจิตร้อยถักอักษรา
ประณตน้อม “สักกาฯ” พระคุณ “ครู”

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เตือนตน

อ่านตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้เป็น
เห็นตัวเองให้ชัด จัดตัวเองให้ถูก
ยิ้มเมื่อถูกเยาะ หัวเราะเมื่อถูกเย้ย
เฉยเมื่อถูกเย้า แล้วใจเราจะสบาย

ในโลกนี้ มีอะไรไม่มีคู่เห็นกันอยู่ทั่วถ้วนล้วนเป็นสอง
แม้พระอาทิตย์ยังมีพระจันทร์ปอง
ได้พบพ้องบางครั้งเป็นบางครั้ง เป็นบางคราว
ร้อนคู่เย็น เห็นเด่นชัดถนัดแน่
เกิดแล้วแก่ตายรุม หนุ่มคู่สาว
หมาคู่แมว แจวคู่พาย บ่ายคู่เช้า
ดำคู่ขาว ยาวก็มี ดีคู่เป็น
แต่ยืนแกะกะอยู่ ก็มีแต่พระกับเณรนั่นแหละ
อดข้าวเย็นเสียจนงอม ยอมหัวโต

บทกลอนเตือนใจ

บางสิ่งไม่ควรจำ
ถ้ามันทำให้เราเจ็บ
แต่บางสิ่งก็ควรเก็บ
หากเป็นความเจ็บที่น่าจำ

สุขทุกข์ อยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่ใช่สุกใส
ถ้าไม่ถือก็เป็นสุขไม่ทุกข์ใจ
แล้วเราจะเลือกเอาความสุขหรือทุกข์ดี

วันไหนๆไม่สำคัญเท่าวันนี้
เพราะวันนี้สำคัญกว่าวันไหน
ถึงพรุ่งนี้มะรืนนี้คืออย่างไร
ก็ยังไม่สำคัญเท่าวันไหน