วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
ทักษะทางภาษาไทยมีอยู่ ๔ อย่าง คือ การฟัง การพูด การเขียน การอ่าน ทักษะที่สำคัญที่สุดและใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน คือ ทักษะการฟัง ซึ่งเป็นทักษะที่เกิดขึ้นก่อนทักษะอื่น ๆ เพราะทักษะการฟัง เป็นทักษะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเราจะใช้มาตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึงตาย โดยไม่ต้องมีการฝึกฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ มักเป็นที่เข้าใจกันว่า ทุกคนมีความสามารถในการฟัง โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฝน พัฒนาความสามารถในการฟัง แต่ทักษะการฟังก็เหมือนกับทักษะการพูด การเขียน และการอ่าน คือต้องมีการฝึกฝนพัฒนาอยู่เสมอจึงจะมีความสามารถในการใช้ทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
วิชาภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู ข้าพเจ้าได้ความรู้หลายอย่างดังนี้
1. รู้หลักการเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง
2. รู้จักการเขียนคำต่างๆในภาษาไทยที่ถูกต้อง
3. รู้จักการสรุปเนื้อหา
4. รู้จักการอ่านจับใจความสำคัญ

5. รู้จักแยกแยะเนื้อหาและรู้ถึงความหมายของบทความนั้นๆ

เคล็ดลับก่อนสอบ

1. เตรียมพร้อมก่อนสอบ เมื่อตั้งใจเรียนแล้วก็ฝึกความพร้อมทดสอบตัวเองก่อนสอบจริงด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ตั้งคำถามแล้วลองเขียนคำตอบ ลองทำข้อสอบเก่า ๆ นำข้อสงสัยต่าง ๆ ที่เคยมีมาหาคำตอบ อย่ามัวอายที่จะถามเพราะคนที่จะได้หรือไม่ได้คือตัวเธอเอง
2. พักผ่อนให้เพียงพอก่อนสอบ มีสมาธิ เมื่อเข้าห้องสอบอ่านคำสั่งอย่างตั้งใจและปฏิบัติตาม เป็นตัวของตัวเองอย่าไปหวังพึ่งคนอื่น อาจจะใช่ถ้าเธอลอกในห้องสอบอย่างไม่มีใครจับได้แต่พออนาคตหล่ะเธอจะพึ่งคนอื่นอย่างนี้ตลอดไปหรอแล้วจะมีประโยชน์อะไรเล่าที่จะเรียนให้เปลืองตังพ่อแม่ แบ่งเวลาในการทำข้อสอบอย่างพอเหมาะ อย่าไปเสียเวลากับข้อใดมากเป็นพิเศษ นอกจากมีเวลาเหลือแล้วค่อยย้อนกลับมาคิด บางข้อครั้งแรกตอบไม่ได้แต่เมื่อผ่านไปทำข้ออื่น ๆ แล้วนึกออก ย้อนกลับมาทำได้ง่าย การสอบจึงต้องเตรียมพร้อม สุขุม ลุ่มลึก
3. ให้ความสำคัญกับการสอบทุกครั้ง เพราะเป็นการประมวลความรู้ใช้ความรู้ที่มีในการแก้ปัญหา ถ้ารู้สึกว่าข้อคำถามในข้อสอบไม่เคยเรียนมาก่อนต้องใช้ความรู้ที่เคยเรียนมาแก้ปัญหา บางครั้งผู้ออกข้อสอบต้องการให้ผู้เข้าสอบสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้กับปัญหาต่าง ๆ
4. คิดว่าการทำข้อสอบคือ การเรียนรู้ บางอย่างเป็นสิ่งที่เคยพบแล้วบางอย่างเป็นสิ่งที่พบใหม่ ตั้งใจทำข้อสอบให้เต็มความสามารถเต็มเวลา
5. อย่าท้อใจเมื่อทำข้อสอบไม่ได้ ถ้าทุกคนทำข้อสอบได้หมดคะแนนเต็มทุกวิชา คงแยกไม่ได้ว่าใครมีความรู้แค่ไหน การสอบจะบอกว่าเรามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร เรื่องไหนต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม จากสอบกลางภาคเตรียมไว้สอบปลายภาคจากการสอบความรู้ในการคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาครั้งที่ 1ครั้งที่ 2 คนเราพัฒนาได้ตลอดเวลาถ้าเรามีความตั้งใจบางเรื่องเรารู้เรื่องหรือเข้าใจมากที่สุดตอนเรียนจบมหาวิทยาลัยหรือทำงานแล้วก็เป็นได้

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รู้ไว้ใช่ว่า… 8 โรคร้ายของนักศึกษา

• โรคที่หนึ่ง นอนตื่นสาย
อาการ เข้าห้องเรียนสายประจำ หรือไม่เข้าเลย
วิธีป้องกันรักษา เข้านอนให้เร็วกว่าเดิม เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนเพียงพอ ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ในที่ที่ต้องเดินไปปิด ห้ามเอาไว้ใกล้เตียง อย่าคุยกับเพื่อนจนดึก เพราะโรคนี้สามารถติดต่อทางการพูดคุยจนลืมเวลานอน
• โรคที่สอง ง่วงนอนในห้องเรียน
อาการ เหม่อลอย หรือแอบหลับในห้องเรียน (เป็นประจำ) มักพบในรายวิชาที่เรียน 8 โมงเช้าหรือหลังอาหารกลางวัน
วิธีป้องกันรักษา สาเหตุมีหลายประการ เช่น นอนไม่พอ วิธีแก้ไข นอนให้พอซะทุกอย่างจะดีเอง ฟังอาจารย์พูดแล้วง่วง วิธีแก้ไข ต้องคิดตามและพยายามจดจะทำให้ไม่ง่วงอีกต่อไป แถมเข้าใจมากขึ้นอีกต่างหาก ถ้ายังง่วงอยู่ให้เพื่อนข้าง ๆ หยิกแรง ๆ จะได้ตื่น
• โรคที่สาม ผีดิบดูดเลือด
อาการ มักออกอาการช่วงใกล้สอบ ขอบตาจะเขียวคล้ำ มองแบบไร้จุดมุ่งหมาย เหม่อลอยเหมือนจะเดินทะลุกำแพงได้
วิธีป้องกันรักษา ต้องจัดตารางเวลาให้ดี อ่านหนังสือและทบทวนทุกวัน ทำ short note เวลาอ่านหนังสือ เพื่อจะได้อ่านเพียงแค่ไม่กี่แผ่นก่อนเข้าห้องสอบ
• โรคที่สี่ ไม่สบายช่วงใกล้สอบ
อาการ ปวดหัวตัวร้อน ปวดท้อง เป็นหวัด
วิธีป้องกันรักษา โดย มากสาเหตุมาจากความเครียด วิธีแก้ไขพยายามอย่าเครียด ให้ออกกำลังให้สม่ำเสมอ อย่ากดดันตัวเองเกินไปในการเรียน พยายามทำให้ดีที่สุด
• โรคที่ห้า WWW
อาการ ไม่ ใช่อาการที่ติด internet จนไม่เป็นอันทำอะไร แต่เป็นอาการที่ลงวิชาเดิมซ้ำแล้ว ซ้ำอีกเป็นจำนวน 3 ครั้งและทุกครั้งก็ขอถอนรายวิชาก่อนที่จะสอบปลายภาค บางคนอาการหนักหน่อยก็จะได้ Women WWW (WWWW) มักพบในกลุ่มนักศึกษาที่ลงเรียน Calculus หรือวิชาคำนวณอื่น ๆ
วิธีป้องกันรักษา ทำ แบบฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นวิชาคำนวณ ต่อให้เรียนหนักอย่างไรแต่ไม่ฝึกทำแบบฝึกหัดก็คงจะผ่านวิชานี้ลำบาก และอย่าท้อ หรือมีอคติกับวิชาก่อนที่จะได้เรียน
• โรคที่หก Pro ต่ำ
อาการ จะ พบโรคนี้ประมาณเทอมสามเป็นต้นไปของนักศึกษาปี 1 และทุกเทอมของนักศึกษาปีอื่น ๆ อาการคือ สำหรับนักศึกษาปี 1 GPAX. ของทั้งสามเทอมต่ำกว่า 1.80 หรือสำหรับนักศึกษาปีอื่น ๆ คือเป็นเทอมแรกที่มี GPAX. ต่ำกว่า 1.80
วิธีป้องกันรักษา ถ้าติด โรคนี้แล้วต้องรักษาโดยการวางแผนการลงทะเบียนใหม่ เลือกลงวิชาที่ถนัดและต้องตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องได้ A ไม่ใช่ขอแค่ผ่าน ถ้ายังไม่ติดโรคนี้วิธีป้องกันคือ ตั้งใจเรียน และต้องตั้งเป้าหมายไว้ว่า A เท่านั้นที่เราต้องการเพราะถ้าพลาดได้ B, C ก็ยังไม่เลวร้าย แต่ถ้าคิดแค่ว่าขอแค่ผ่าน (ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ผ่านคือ ไม่ F เป็นการเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงนะคะ) ขอแค่ผ่าน คือ ต้องได้อย่างต่ำ C ทุกวิชา เพราะนั้นคือ GPAX. = 2.00
• โรคที่เจ็ด Pro สูง
อาการ คล้าย ๆ โรค Pro ต่ำ แต่ดีกว่าหน่อยตรงที่ GPAX. ต่ำกว่า 2.00 แต่มากว่า 1.80
วิธีป้องกันรักษา เช่นเดียวกับโรค Pro ต่ำ
• โรคที่แปด รีไทร์
อาการ พบโรคนี้ได้ทุกเทอม อาการคือ GPAX. ต่ำกว่า 1.00 (สำหรับนักศึกษาปี 1 ในเทอมที่ 1 และ 2) 1.50 (สำหรับนักศึกษาปี 1 ในเทอมที่ 3) 1.80 แต่มากกว่า 1.50 สองภาคเรียนต่อเนื่องกัน (สำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี) 2.00 สี่ภาคเรียนต่อเนื่องกัน (สำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี)
วิธีป้องกันรักษา วิธีป้องกันเช่นเดียวกับโรค Pro ต่ำ วิธีรักษาเอนท์ใหม่เท่านั้น!!!!
โอ.. ถ้าอยากเรียนจบพร้อมเพื่อนๆ กรุณาหลีกเลี่ยง 8 โรคนี้ ให่ได้นะคะ ^-^

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

พ่อที่รักยิ่ง

พ่อคือยศ ที่ลูกรักผูกติดตัว
พ่อคือไฟ ที่ลูกน้อยคอยสองแสง
พ่อคือน้ำ ที่ลูกนี้คอยดื่มกิน
พ่อคือคน ที่ลูกลูกรักรักเอย

วันพ่อนี้ ขอให้พ่อจงสุขใจ
วันพ่อนี้ ขอให้พ่อจงสุขสันต์
วันพ่อนี้ ขอให้พ่อสุขสำราญ
วันพ่อนี้ ขอให้พ่ออมยิ้มเอย